วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

“ความเป็นเมือง” พลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจภูมิภาค


20 พฤษภาคม 2557



       ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ชี้ เทรนด์ความเป็นเมืองกำลังขยายตัวสู่หลายจังหวัดในภูมิภาค  สามารถกระจายรายได้ให้ประชาชนในพื้นที่  นับเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น และเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ภูมิภาค

จากการขยายตัวของเศรษฐกิจภูมิภาคซึ่งเป็นที่สนใจในขณะนี้ ซึ่งสามารถรับรู้ได้จากการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนในภูมิภาค ทำให้กำลังซื้อของประชาชนสูงขึ้น การบริโภค การพักอาศัยและรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวันใกล้เคียงกับประชาชนเขตกรุงเทพฯ มากขึ้น นั่นคือ สังคมมี “ความเป็นเมือง” (Urbanization) มากขึ้นนั่นเอง ยิ่งเศรษฐกิจในพื้นที่ดีต่อเนื่อง ย่อมทำให้รายได้ประชาชนเพิ่มขึ้นรวดเร็ว ความเป็นเมืองก็จะเพิ่มขึ้นตามมาด้วย จากข้อมูลเราพบว่า จังหวัดที่มีจุดเด่นทางด้านเศรษฐกิจ จะมีความเป็นเมืองเร็วกว่าจังหวัดอื่นๆ จุดเด่นที่สำคัญคือ

จังหวัดท่องเที่ยว : (ภูเก็ต เชียงใหม่ สุราษฎร์ธานี กระบี่) เศรษฐกิจมีความเป็นเมืองได้เร็วที่สุด เห็นได้จากปริมาณการค้าจังหวัดกลุ่มนี้เติบโตเฉลี่ย 5.44% ต่อปี เพราะเกิดการจ้างงานกระจายรายได้เป็นวงกว้าง เกิดธุรกิจจำนวนมากจากการท่องเที่ยว รายได้ประชาชนจึงเพิ่มขึ้นเร็ว

จังหวัดฐานการผลิต : (ชลบุรี ระยอง อยุธยา ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระบุรี) ปริมาณการค้าเติบโตเฉลี่ย 5.37% ต่อปี จังหวัดกลุ่มนี้มีนิคมอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภคพื้นฐาน จึงเกิดการจ้างงานจำนวนมากในพื้นที่ การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยทั้งในและต่างประเทศ
                                   
จังหวัดการค้าแถบชายแดน : (สงขลา อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย) เนื่องจากความได้เปรียบที่ตั้ง ทำให้เกิดการค้า การท่องเที่ยวและการลงทุนขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าเติบโต 4.37%ต่อปี และน่าจะเติบโตต่อเนื่องจากเศรษฐกิจเพื่อนบ้านที่ยังมีทิศทางสดใส            
         
จังหวัดการค้าและการขนส่ง : (นครราชสีมา ขอนแก่น นครสวรรค์ พิษณุโลก) เป็นจังหวัดขนาดใหญ่ มีกำลังซื้อจากจังหวัดขนาดเล็กที่อยู่รายรอบช่วยหนุนเศรษฐกิจจังหวัดกลุ่มนี้ ปริมาณการค้าขยายตัวเฉลี่ย 4.06% ต่อปี การเติบโตของการค้าอ่อนไหวตามปัจจัยในประเทศเป็นหลัก

ขณะที่เขต กทม.และปริมณฑล มีการค้าเติบโตเฉลี่ย 4.22% ต่อปี ทั้งสี่กลุ่มจังหวัดจึงมีความเป็นเมืองเร็วมาก และบางจังหวัดอาจมีจุดเด่นหลายด้าน เช่น ชลบุรี ระยอง อยู่ในกลุ่มจังหวัดฐานการผลิต และยังมีการท่องเที่ยวเป็นจุดเด่นอีกด้วย จึงทำให้การค้าขายคึกคักกว่าจังหวัดอื่น ระดับของความเป็นเมืองจึงเกิดเร็วขึ้นตามรายได้ของประชาชน กลุ่มที่ความเป็นเมืองใกล้เคียงกับกรุงเทพฯ คือ ภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ระยอง สงขลา นครราชสีมา ขอนแก่น จังหวัดที่ก้าวสู่ความเป็นเมืองมากขึ้นคือ สุราษฎร์ธานี กระบี่ อยุธยา สระบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี อุดรธานี หนองคาย อุบลราชธานี เชียงราย นครสวรรค์ พิษณุโลก

การก้าวสู่ความเป็นเมือง ถือเป็นการเปิดโอกาสทางธุรกิจให้กว้างขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและไลฟ์สไตล์ เนื่องจากประชาชนมีกำลังซื้อสูงขึ้น จึงต้องการสินค้าและบริการที่ยกระดับคุณภาพชีวิต และความสะดวกสบายมากขึ้นนั่นเอง ธุรกิจที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนคือ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่จะมีรูปแบบของร้านค้าทันสมัย เช่น ร้านสะดวกซื้อ ห้างสรรพสินค้า อาหารและเครื่องดื่ม ดังนั้นธุรกิจ SME ในพื้นที่มีโอกาสเพิ่มขึ้นและความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นพร้อมๆ กัน การเรียนรู้ความต้องการของผู้บริโภคและตอบสนองอย่างตรงจุด จะช่วยลดความเสี่ยงจากการแข่งขันที่รุนแรงจากธุรกิจขนาดใหญ่ได้และได้รับผลบวกเต็มๆ จากเทรนด์ ”ความเป็นเมือง”


อ้างอิง : https://www.tmbbank.com/newsroom/news-details.php?id=556

คลังนัดถกพยุงเศรษฐกิจชะลอ หวังกกต.อนุมัติทำงบฯ58 ทีเอ็มบีหั่นจีดีพี

ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- เสาร์ที่ 17 พฤษภาคม 2557 00:00:06 น.




         บางเขน * "ทนุศักดิ์" จ่อถกส่วนราชการ-แบงก์รัฐ หาแนวทางพยุงเศรษฐกิจช่วงที่เหลือ หลังโดนพิษการเมือง เลือกตั้งยังไม่ได้ รับต้องทำงานหนักขึ้น ยันไม่ยอมให้มีการปรับลดเป้าหมายใดๆ ลงแม้แต่ตัวเดียว สศค.โยนสำนักงบฯ ยื่น กกต.เคาะทำงบฯ 58 ได้หรือไม่ TMB หั่นจีดีพีอีกรอบเหลือโต 2%

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รักษาการ รมช.การคลัง เปิดเผยว่า ในการหารือร่วมกับอธิบดี กรมต่างๆ รวมถึงผู้บริหารกระ ทรวงการคลังในวันที่ 19 พ.ค.นี้ โจทย์ใหญ่ในการหารือคือ การ ระดมสมองหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง รวมถึงธนาคารเฉพาะกิจ ของรัฐในการต่อสู้วิกฤติเศรษฐ กิจในปี 2557 เพื่อประคับประ คองเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีไม่ให้เสียหายไปมากกว่านี้

นอกจากนี้ จะหารือถึงการจัดทำงบประมาณ 2558 ว่าจะดำเนินการได้อย่างไรในช่วงรัฐบาลรักษาการ เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะสามารถจัดการเลือกตั้งได้ในเดือน ก.ค.หรือไม่ โดยกระทรวงการคลังต้องเตรียมความพร้อมไว้ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในอนาคต เพราะถ้างบประมาณปี 2558 ต้องล่าช้ากว่านี้ จะมีปัญหาหนักต่อเศรษฐกิจในปี 2558

"ทุกวันนี้เศรษฐกิจช็อก และชะงักงันจากปัญหาการ เมือง หน่วยงานของรัฐที่มีอยู่ รัฐวิสาหกิจ สถาบันการเงิน และ องค์กรของรัฐ ต้องทำงานอย่างเต็มที่ และที่สำคัญต้องทำงานหนักกว่าเดิม ต้องลุยการทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งผมจะไม่ยอมให้มีการลดเป้าหมายใดๆ ลง รวมถึงเป้าหมายการจัดเก็บที่กำหนดไว้ 2.275 ล้านล้านบาท ต้องทำให้ได้ตามนั้น" นายทนุศักดิ์ กล่าว

ทั้งนี้ ยอมรับว่าในการ จัดทำงบประมาณปี 2558 งานนโยบายบางอย่างอาจจะมีปัญหา ในข้อกฎหมาย แต่เท่าที่ดูกฎ หมาย ไม่ได้บอกว่าจัดทำงบไม่ได้เลย แต่มีห้ามที่ต้องระวัง 2 ประการคือ ห้ามผูกพันรัฐบาลในอนาคต และห้ามนำไปหาเสียง ซึ่งมองว่าการจัดทำงบปี 2558 ไม่ใช่การนำไปหาเสียง แต่เป็นการช่วยเหลือประชาชน

นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ต้อง การให้สำนักงบประมาณทำหนังสือไปยังสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อถามถึงความชัดเจนและอนุมัติให้รัฐบาลรักษาการสามารถจัดทำงบประมาณปี 2558 ได้ เพื่อให้มีเม็ดเงินจากส่วนราชการมาใช้อัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจ ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงจากปัญหาการเมืองที่ยืดเยื้อ ทำให้ภาครัฐไม่สามารถออกมาตรการพิเศษมากระตุ้นเศรษฐกิจได้ และไม่มีงบลงทุนจากภาครัฐในโครงการใหม่ ส่งผลต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนชะลอตัว

ด้านศูนย์วิเคราะห์เศรษฐ กิจทีเอ็มบี หรือ TMB Analytics ได้ปรับลดประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ลงจาก 2.9% เหลือ 2.0% จากปัจจัยลบ ความไม่แน่นอนทางการเมืองบั่นทอนการใช้จ่าย โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชน

อย่างไรก็ดี ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยจะสามารถกลับมาฟื้นตัวได้ดีขึ้นในครึ่งปีหลัง ในขณะที่ความน่าจะเป็นที่เศรษฐ กิจไทยจะเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือจีดีพีหดตัวติดต่อกัน 2 ไตร มาส ยังคงมีความเป็นไปได้ต่ำ ภายใต้เสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเอื้อต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นอัตราเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นบ้าง แต่ยังไม่น่ากังวล อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะถูกตรึง ไว้ที่ระดับค่อนข้างต่ำ และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเอื้อต่อผู้ส่งออก.

อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/tpd/1899093