บทสัมภาษณ์ผู้บริหาร



                         ผู้นำด้านธุรกรรมการเงินย่างก้าวที่แข็งแกรงของ TMB





            หลังจากผ่านการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่เมื่อ 5-6 ปีที่แล้ว ธนาคารทหารไทย หรือ TMB สามารถกลับมาเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง และล้างขาดทุนสะสมกว่า 1 แสนล้านบาท ให้กลับมามีกำไรได้อย่างรวดเร็ว จนทำให้ชื่อของ TMB ในวันนี้ กลายเป็นสถาบันการเงินที่ถูกจับจ้องจากวงการการเงินทั่วประเทศในฐานะผู้นำการให้บริการธุรกรรม และผู้สร้างนวัตกรรมการเงินที่โดดเด่น
ทุกย่างก้าวของ TMB หลังจากนี้ จะยิ่งหน้าติดตามว่าจะไปในทิศทางใด และวงการการเงินในประเทศต้องปรับตัวกันเพียงใด ปพนธ์ มังคละธนะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเชน TMB จะมาเผยถึงทิศทางแผนการดำเนินงานของ TMB โดยเฉพาะในกลุ่มลูกค้า SME ที่กำลังมีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว 

       ปพนธ์ เริ่มต้นว่า แม้ธุรกิจการเงินการธนาคารของไทยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะแข่งขันกันอย่างรุนแรง ทั้งดอกเบี้ย การออกผลิตภัณฑ์ รวมถึงสถานการณ์เศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย แต่ทว่า TMB ขนาดตัวได้อย่างน่าพอใจ โดยภาพรวมของ 9 เดือนที่ผ่านมาในปี 56 นี้มีผลดำเนินงานเติบโตตามเป้าหมาย โดยเฉพาะในส่วนสินเชื่อ SME มียอดคงค้างถึง 165000ล้านบาท  เติบโตขึ้น 20 เปอร์เซ็นต์ จากปีที่ผ่านมาที่มี 130000 ล้านบาท และคาดหวังเมื่อสิ้นปีตัวเลขจะก้าวไปถึง 190000 ล้านบาท ขณะที่สินเชื่อธุรกิจรายเล็กอยู่ที่ 90000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 30 เปอร์เซ็นต์ จากเมื่อต้นปีที่แล้ว 65000 ล้านบาท และเมื่อครบปี 56 จะเติบโตถึง 40 เปอร์เซ็นต์ หรือมียอดสินเชื่อรวม 100000 ล้านบาท

      การเติบโตแบบก้าวกระโดดที่เกิดขึ้นนี้ มาจากการทุ่มเทปรับกลยุทธ์ดำเนินงานใน 1-2 ปีที่ผ่านมาเพราะหลังจากวางแผนใหม่ก็ทำให้ต้นทุนทางการเงินของธนาคารลดลงจนใกล้เคียงกับธนาคารขนาดใหญ่ประกอบกับมีการออกแบบผลิตภัณฑ์การเงินใหม่ที่แตกต่างและสนองตอบต่อความต้องการของลูกค้าตลอดเวลา ทำให้ผลงานต่างๆ เริ่มดีขึ้น โดยเฉพาะการใช้แคมเปญ " ธุรกรรมการเงินต้อง TMB " เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าทั้งกลุ่มธุรกิจและลูกค้าทั่วไปรับรู้ว่า TMB ต้องการเป็นผู้นำด้านธุรกรรมทางการเงินทำให้ภาพลักษญ์และทิศทางของธนาคารชัดเจนขึ้น 

      " มุมมองการแข่งขันสำหรับ TMB เน้นจุดแข็งในเรื่องของธุรกรรมการเงินและการบริการทางการเงิน ในเรื่องของผลิตภัณฑ์เราต้องการฉีกตัวเองให้แตกต่างจากคู่แข่งเพื่อให้ลูกค้าเห็นเราได้ชัดเจน พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์อยู่เสมอๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับลูกค้าได้มากที่สุด ซึ่งการเพิ่มประสิทธิภาพการบริการแบ่งเป็น 2 ด้าน คือด้านการเงิน ลูกค้าจะต้องทำธุรกรรมได้สะดวกขึ้น ค่าบริการถูกลง อีกด้านคือการเพิ่มประสิทธิภาพด้านการดำเนินการแก่ลูกค้า เพราะเมื่อทั้ง 2 อย่างก้าวไปดีขึ้น ก็ทำให้ธุรกิจโดยรวมมีประสิทธิภาพและแข่งขันได้ "

         จุดสำคัญที่ลูกค้าได้รับเมื่อทำธุรกรรมกับ TMB คือลูกค้าจะมีต้นทุนทางการเงินที่ถูกลง แต่ไม่ได้ว่าจะแข่งขันกันด้วยดอกเบี้ย แต่จะเน้นการเก็บค่าธรรมเนียมต่างๆที่ลดลง เพราะหากนำมาเทียบแล้วจะถูกกว่าการฝากได้ดอกเบี้ยสูง รวมถึงการได้รับบริการที่สะดวก ไม่วุ่นวาย ในเรื่องกฎระเบียบ การโอนเงินต่างๆช่วยให้ลูกค้าสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบริหารกระแสเงินสดได้ดีขึ้น

    ตัวอย่าง ที่ผ่านมาเมื่อลูกค้าโอนเงินเข้าบัญชีตัวเองที่อยู่ต่างพื้นที่จะเสียค่าธรรมเนียมการโอน แต่หากเปิดบัญชีกับ TMB ลูกค้าจะไม่เสียค่าธรรมเนียมการโอนเพราะถือเป็นบัญชีเดียวกัน จึงยกเลิกค่าธรรมเนียมในส่วนนี้ไป ถือเป็นการยกระดับการให้บริการอย่างต่อเนื้องจากก่อนหน้านี้มีแคมเปญ “One Bank One Account” ที่ให้สิทธิลูกค้าสามารถทำธุรกรรมโฮนเงินข้ามธนาคารได้ฟรีสูงสุดถึง 30 รายการต่อเดือน  หรือการใช้เช็ค ซึ่งเป็นธุรกรรมการเงินที่ได้รับความนิยมจากธุรกิจ SME เกินกว่าครึ่ง ธนาคารได้ปรับธุรกรรมใหม่เพื่อให้ลูกค้าได้ประโยชน์สูงสุดโดยเมื่อลูกค้ารับเช็คและนำเข้าบัญชีตัวเองจะไม่เสียค่าธรรมเนียม ต่างจากธนาคารอื่นที่นำเช็คเข้าต่างสาขา หรือต่างพื้นที่จะเสียค่าธรรมเนียมทันทีที่สำคัญหากเป็นเช็คของ  TMB เมื่อนำมาเข้ากับ TMB ก็สามารถเคลียร์เงิน และจ่ายเงินให้ภายในวันเดียว เท่ากับว่าลูกค้าจะได้รับเงินเต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการไม่เสียค่าธรรมเนียมและยังได้เงินสดไปใช้ไวขึ้นอีกด้วย

    อย่างไรก็ตามถึงตอนนี้เรายังไม่สามารถบอกได้ว่าประสบความสำเร็จ แต่แนวทางที่ผ่านมาก็ถือว่าได้ผลน่าพอใจ เพราะก่อนหน้านี้ได้ออกผลิตภัณฑ์ไปแต่ยังไม่ชัดเจน แต่ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา พอมีการยกระดับสิทธิประโยชน์ต่างๆ ผลตอบรับจากลูกค้าก็ชัดขึ้น เห็นได้จากยอดการเปิดบัญชีใหม่ในเดือน ส..-.. เพิ่มจากเดือนละประมาณ 1,000 บัญชีมาอยู่ที่ 2,ooo กว่าบัญชี  รวมถึงยอดการใช้เช็คที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว เงินฝากในภาคธุรกิจก็เพิ่มขึ้นประมาณ 4,oooล้านบาท และธุรกรรมต่างๆก็เพิ่มขึ้นทั้งหมดเกือบ100 เปอร์เซ็นต์

    ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเอสเอ็มอีและซัพพลายเซน กล่าวต่อว่าแม้ภาพรวมจะออกมาตี แต่ TMB ไม่ได้หยุดนิ่งในการนำเสนอบริการใหม่ๆ โดยได้เรียนรู้และปรับการให้บริการอย่างต่อเนื้อง อย่างตอนที่ออก“One Bank One Account” ซึ่งเน้นการทำธุรกรรมภายในธนาคารเอง แตต่ในความจริงพบว่าลูกค้าเกิน70 เปอร์เซ็นต์ ยังติดต่อกับคู่ค้าต่างธนาคารอยู่ ดังนั้นธนาคารก็อาจพิจารณาเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ นอกจากการโอนข้ามธนาคารแล้วจะลดค่าธรรมเนียมการโอนข้ามธนาคารที่มียอดการโอนเงินมูลค่าสูง (BAHTNET) ลงเหลือแค่ 50 บาท ต่อรายการ ต่างจากธนาคารทั่วไปที่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสูง บางครั้งถึงหลายพันบาทก็มี

   นอกจากนี้ยังมีบริการเตือนการออกเช็คแก่ลูกค้า เพราะบางทีลูกค้าไม่แน่ใจว่าเช็คที่เขียนไปนั้นมีเงินพอจ่ายหรือไม่ก็จะส่งข้อความ sms เตือนลูกค้าก่อนเวลา 17.00. ในกรณีที่เงินไม่พอ เพื่อให้ลูกค้านำเงินเข้าบัญชีเพิ่มเติมได้ตามสาขาในห้างสรรพสินค้าที่ปิดบริการช้า ขญะที่ลูกค้าบริษัทขนาดใหญ่ ธนาคารก็มีบริการเสริมคอยดูแลและเรียกเก็บเช็คให้ ซึ่งตรงนี้ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพบริการแก่ลูกค้าของเรา

  หลายท่านอาจสงสัยว่าการที่ธนาคารปรับลดค่าธรรมเนียมจะกระทบต่อรายได้หรือไม่นั้น เรื่องนี้  TMBมองว่า ต้องดูประโยชน์ระยะยาวเพราะไม่สามารถปฎิเสธว่าธนาคารต้องการค่าธรรมเนียมอยู่ แต่การคิดค่าธรรมเนียมที่สมเหตุสมผล อย่างค่าธรรมเนียม BAHTNET ที่เก็บ 50 บาทนั้นยังมีกำไรอยู่ หรืออย่าง“One Bank One Account”คือลูกค้าที่เอาเช็คเข้าบัญชีของธนาคารอื่นอาจต้องเสียเวลาเคลียร์เช็คหลายวัน แต่ถ้าลูกค้าอยากได้เงินเร็วธนาคารก็สามารถทำให้ได้เลย ซึ่งหากเราเก็บอัตราที่พอดีจะช่วยขยายลูกค้าได้เพิ่ม อีกทั้งเม็ดเงินต่างๆ จะเข้ามาที่ธนาคารเรามากขี้น และนำไปใช้ต่อยอด รวมถึงหารายได้จากส่วนต่างของดอกเบี้ยได้เพิ่มด้วย

  นอกจากยกระดับการเพิ่มประสิทธิภาพบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนแก่ลูกค้าแล้ว ในด้านของผลิตภัณฑ์ทางการเงินธนาคารก็ไม่ละทิ้งเช่นกัน โดยมีการออกแคมเปญใหม่ๆ เพื่อช่วยเสริมสภาพคล่องแก่ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดได้เปิดตัว สินเชื่อธุรกิจ” 3เท่า3ก๊อก”  สำหรับลูกค้ากลุ่มผู้ประกอบการ SME ทุกประเภทที่มียอดขายไม่เกิน50ล้านบาทต่อปี เพราะลูกค้ากลุ่มนี้ถือเป็นฐานลูกค้าสำคัญที่ธนาคารมุ่งขยายฐาน โดยสินเชื่อชนิดนี้ ลูกค้าจะได้รับสิทธิถึง ต่อ

    ก๊อกหนึ่ง  วงเงินสูงสุด เท่าของมูลค่าหลักประกัน
    ก๊อกสอง  วงเงินเพื่อฉุกเฉิน สูงสุด 15 เปอร์เซ็นต์ของวงเงินเดิมและรับเงินได้ใน3วันทำการ
    ก๊อกสาม  สามารถขยายวงเงินได้อีก 1เท่าของมูลค่าหลักประกัน โดยพิจารณาจากแนวโน้มของธุรกิจการเดินบัญชีและพฤติกรรมของลูกค้า





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น