วันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557

ที่ผ่านมาแม้ธนาคารพยายามปรับปรุงธุรกรรมทางการเงินอย่างไม่หยุดนิ่งแต่มีอีกกลยุทธ์ที่ TMB ให้ความสำคัญไม่แพ้กันคือ"การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวลูกค้าของธนาคารโดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อย และ SME"


                                                                                                   ที่ผ่านมาได้เริ่มปล่อยสินค้าตัวนี้ตั้งแต่เดือนเม.ย.56 จนถึงเดือน ต.ค. ก็มีวงเงินปล่อยกู้ได้ถึง 6,000 ล้านบาท ซึ่งถือว่าตอบสนองกลยุทธ์สินเชื่อเชิงรุกของธนาคารได้อย่างดี อโครงการสินเชื่อธุรกิจ 3 เท่า 3ก๊อก หากTMB เห็นเงินในบัญชีลูกค้ามีเพิ่มขึ้นจากธุรกิจที่เติบโต TMB ก็จะสอบถามลูกค้าทันทีว่าต้องการสินเชื่อหรือไม่โดยไม่ต้องรอลูกค้าเข้ามาขอขยายวงเงิน วิธีนี้จะช่วยขยายวงเงินสินเชื่อแก่ลูกค้าเก่าที่มีศักยภาพได้เป็นอย่างดี 
                  ปพนธ์ เปิดเผยว่า เห็นได้ว่าที่ผ่านมาแม้ธนาคารพยายามปรับปรุงธุรกรรมการเงินอย่างไม่หยุดนิ่ง แต่ยังมีอีกกลยุทธ์ที่ TMB ให้ความสำคัญไม่แพ้กัน คือ การเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวลูกค้าของธนาคาร โดยเฉพาะฐานลูกค้ารายย่อย และ SME เพราะเชื่อว่าหากลูกค้าที่เป็นเจ้าของธุรกิจบริหารธุรกิจได้มีประสิทธิภาพสูงสุดแล้ว ก็มีโอกาสเติบโตได้ดีและกับมาใช้บริการกับธนาคารเพิ่มขึ้นด้วย ดังนั้น TMB จึงจัดโครงการพัฒนาประสิทธิภาพธุรกิจภายใต้โครงการ  "TMB Effficiency Improvement For Supply Chain" ซึ่งนำทฤษฎี Lean Six Sigma เครื่องมือการลดต้นทุนการผลิต ที่เน้นการลดความผิดพลาดจากการบริหารงานไม่มีสต๊อก ไม่มีของเสีย เข้ามาใช้พัฒนาลูกค้า SME เพราะต่อไปการแข่งขันธุรกิจจะยิ่งรุนแรงขึ้น จึงต้องมีวิธีบริหารใหม่ๆ เข้ามาช่วยลูกค้า แต่วิธีที่ TMB นๆมาใช้จะไม่ทำแค่การอบรมหลักสูตรทฤษฎีกว้างๆ แต่จะเน้นเฉพาะเรื่อง มีแนวทางปฏิบัติเป็นรูปธรรม รวมทั้งทำให้เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจทั้งระบบและติดตามประเมินผลลูกค้าด้วย โดยโครงการเเรกจะร่วมมือกับ "เบทาโกร" บริษัทผู้ผลิตอาหารแถวหน้าของประเทศ ในการพัฒนาธุรกิจกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้เดินหน้าไปด้วยกัน โดยทุกฝ่ายจะมีโอกาสแลกเปลี่ยยนปัญหา เสนอวิธีแก้ไขให้สอดคล้องและสมดุลกันทั้งระบบ
                ที่ผ่านมาได้ทำโครงการนำร่องไปเมื่อ 3 เดือนที่แล้วเพื่อศึกษาข้อดีข้อเสียและยังร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิริธรของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปรับปรุงก่อนเริ่มโครงการจริงในเดือน พ.ย. นี้ โดยเบื้องต้นตั้งเป้าหมายบริษัทเข้าร่วม 50 ราย ซึ่งเปิดกว้างให้ทั้งลูกค้าของธนาคารและทั่วไปเข้าร่วมได้ สาเหตุที่เลือกธุรกิจอาหาร เพราะเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มูลค่าตลาดสูงถึง 17 เปอร์เซนต์ ของ  GDP และมี SME อยู่มากซึ่งตรงกับกลุ่มเป้าหมายของ TMB สำหรับเป้าหมายเมื่อจบโครงการ คาดว่าจะเกิดการรวมกลุ่มสามารถแบ่งปันความรู้ การแก้ปัญหา มีการติดต่อสื่อสารกัน เกิดการเชื่อมโยงธุรกิจ สามารถต่อยอดธุรกิจที่เกี่ยวข้องได้ โดยธนาคารตะมีคลีนิกเพื่อติดตามการทำงานเพื่อแก้ปัญหา 
                จากการมุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมการเงินสำหรับลูกค้า SME อย่างต่อเนื่อง TMB คาดหวังว่าจะมีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มในอนาคต หลังจากเมื่อ 3 ปีที่แล้ว TMB มีส่วนแบ่งไม่เดกิน 6 เปอร์เซนต์ เเต่ปัจจุบีันเพิ่มเป็น 13 เปอร์เซนต์ และตั้งเป้าหมายใน 5 ปีข้างหน้า จะต้องเป็นผู้นำในอันดับต้นๆ ไม่เกินอันดับ 3 หรือ 4 โดยมีส่วนแบ่งตลาดในสินเชื่อ SME ประมาณ 20 เปอร์เซนต์ เพื่อให้มีบทบามสามารถกำหนดทิศทางของอุตสาหกรรมได้ 
               สำหรับแผนในปี 57 TMB ยังตอกย้ำการเป็นผู้นำธุรกรรมทางการเงินให้เด่นชัดเหมือนเดิม โดยเน้นเรื่องบริการที่เฉพาะเจาะจง พร้อมกับต่อยอดการให้บริการเดิมให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น อย่างในปลสยปีนี้จะออกผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า Liquidity Account คือการที่ลูกค้ามีหลายบัญชี หลสยธนาคาร ก็สามารถนำเงินมารวมไว้ที่บัญชี TMB ที่เดียวได้   และกระจายไปบัญชีอื่นได้ เพื่อที่ลูกค้าไม่จำเป็นต้องทิ้งเงินไว้ในหลายบัญชี หลายธนาคาร และช่วยแก้ปัญหากรณีมีเงินทิ้งไว้ในบัญชีหนึ่งแต่หากอีกบัญชีหนึ่งมีเงินไม่พอก็ต้องกู้โอดีมาจ่าย เสียดอกเพิ่ม 
               ตรงนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการทำธุรกรรมที่จับต้องได อนาคต TMB  ยังมีความมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และบริการใหม่ๆ เพื่อสนองตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าธุรกิจอย่างต่อเนื่องตรงจุด ตามแนวคิดของธนาคารที่ว่า "ธุรกรรมทางการเงินต้อง TMB"




อ้างอิง : หนังสือ  CUSTOMS IMPORT-EXPORT

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น